กลวิธีการนับทักษา
การนับทักษา
ทักษามีการนับเป็นทักษาเดิมและทักษาจรแต่ละช่องของทักษามีอายุ 1 ปี เมื่อครบอายุตามวันเกิดก็ข้ามไปช่องถัดไปตามทางเดินทักษา แต่เมื่อนับมาถึงช่องอาทิตย์ต้องวกเข้าตากลางก่อน 1 ปี เพื่อให้ความร้อนที่ได้จากดวงอาทิตย์เบาบางลง แล้วถึงจะไปนับที่ ช่องจันทร์ เช่น ท่านเกิดวันพฤหัส อายุ ๑ ปี จะอยู่เลข ๕ , ๒ ปี อยู่ เลข ๘ , ๓ ปีอยู่เลข ๖, ๔ ปีอยู่เลข ๑, ๕ ปีเข้าตากลางใช้เลข ๕ แทน, ๖ ปีอยู่เลข ๒ , ๗ ปีอยู่เลข ๓ อ่านได้ว่าอายุ ๗ ปีทักษาเดิม ๓ เป็นอุตสาหะ ทักษาจร ๓ เป็นบริวาร ทำให้ ๒ เป็นกาลกิณีในปีนี้
อายุนี้เราใช้อายุย่างไม่ใช้อายุเต็มหากมีอายุมากมีวิธีลัดคิดในใจ เช่น 66 ปี ให้นำเลขทั้งสองตัวบวกกันหากเกิน 1 หลักก็บวกกันอีกจนได้เลขหลักเดียว 6+6 ได้ 12 และ 1+2 ได้ 3 ก็ได้คำตอบคือนับไป 3 ช่อง
ตัวอย่าง เกิดวันอะไรก็เริ่มนับที่วันนั้น เกิดวันอาทิตย์ อายุปีนี้ 48 ปี 5 เดือน 6 วัน มีอายุย่างคือ 49 ปี ได้เป็น 4+9 ได้ 13 เกิน 1 หลัก บวกใหม่ 1+3 ได้ 4 นับจากช่องอาทิตย์ไป 4 ช่อง ก็ตกช่องอังคาร ทั้งนี้ก็เพราะเมื่อถึงอาทิตย์ต้องนับเข้าตากลาง ก็อ่านได้ว่าทักษาจรปีนี้ตกดาวอังคาร ซึ่งอังคารในทักษาเดิมเป็นเดช ได้ใจความว่าเดชเดิมปีนี้มาเป็นบริวาร
หากปีใดนับลงตากลางให้ใช้ช่องเลข๕ ในการเริ่มบริวารจร